Tuesday, May 12, 2020


 Learning Log 7
- Friday 27th March 2019 -


👉 องค์ประกอบที่สำคัญที่นำไปสู่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีดังนี้
1.       ความคิดคล่อง  (fluency)
2.       ความคิดยืดหยุ่น  (flexibility)
3.       ความคิดริเริ่ม  (originality)
4.       ความคิดละเอียดลออ  (elaboration)

1.      ความคิดคล่อง
ความคิดคล่อง  หมายถึง  ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้คำตอบจำนวนมากที่
แตกต่างกันหรือหลากหลายวิธี
2.      ความคิดยืดหยุ่น
ความคิดยืดหยุ่น  หมายถึง  ความสามารถในการคิดปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ คิดแล้วเลือก / นำไปใช้ให้ตรงกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่กำหนด  ความคิดยืดหยุ่นจึงเป็นตัวเสริมให้ความคิดคล่องมีความแปลกแตกต่างกันออกไป
3.      ความคิดริเริ่ม
ความคิดริเริ่ม  หมายถึง  ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้ความคิดที่มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดพื้นๆ  เป็นความคิดที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่แตกต่างจากความคิดพื้นๆ ที่มีอยู่เดิม และอาจไม่เคยมีใครนึกหรือคิดมาก่อน  ผู้ที่มีความคิดริเริ่มจะต้องมีความกล้าคิดนอกกรอบ  กล้าลองเพื่อทดสอบความคิดของตน  และบ่อยครั้งที่ต้องอาศัยความคิดจินตนาการในการประยุกต์
4.      ความคิดละเอียดลออ

ความคิดละเอียดลออ  หมายถึง  ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้ความคิดที่มีรายละเอียดอย่างลุ่มลึกหลายแง่มุมของแต่ละคำตอบของปัญหาจนกระทั่งสามารถสร้างผลงานหรือชิ้นงานขึ้นมาได้สำเร็จ  ความคิดละเอียดลออ  เป็นส่วนเสริมให้องค์ประกอบสำคัญ  3  ข้อข้างต้นมีความสมบูรณ์  นำไปสู่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยทักษะ  ดังนี้

          1. ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่

                    1.1  ทักษะการสังเกต ( Observing )

          1.2  ทักษะการวัด ( Measuring )

                    1.3  ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )

                    1.4  ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา( Using Space/Relationship )

                    1.5  ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน ( Using Numbers )

                    1.6  ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Comunication )

                    1.7  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring )

                    1.8  ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting )

            2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่

                     2.1 ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypthesis )

                     2.2 ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables )

                     2.3 ทักษะการตีความและลงข้อสรุป ( Interpreting data )

                     2.4 ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining Operationally )

                     2.5 ทักษะการทดลอง ( Experimenting )


🌷Assessment 🌷
Self-Assessment : ตั้งใจฟังงานที่อาจารย์บอก และรับผิดชอบงาน มีความลำบากในการประสานงานเล็กน้อย
Member Assessment : ตั้งใจทำงาน และมาตรงต่อเวลา
Teacher Assessment : อาจารย์พยายามปรับตัวกับการสอนแบบใหม่




No comments:

Post a Comment