Tuesday, May 12, 2020


 Learning Log 11
- Friday 24th April 2019 –


👉 ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์


☺ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญเพราะเป็นวิธีการคิดที่จะช่วยให้บุคคลมีความสามารถในการคิดเข้าใจปัญหาสามารถแก้ไขและคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทำให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาได้ดีสมองมีตำแหน่งรับรู้ต่างๆ มากมายเมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงาน ก็มีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาเด็กด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหวจึงนับเป็นการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน และเสริมซึ่งกันและกัน
การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นโดยกระบวนการ myelination ทำให้ระบบรับความรู้สึก (sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว (motor) ทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

          ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, (2556: 224) กล่าวว่า ครูและผู้ปกครองควรปฏิบัติ ดังนี้
          1. สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับและการกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ รายการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดของตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่สกัดกั้นความคิดเห็น ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ
          2. แสดงความตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ไม่ได้ตระเตรียมมาก่อนให้มากเท่ากับกิจกรรมที่วางแผนไว้แล้ว
          3. สังเกตสิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ
          4. พยายามเข้าใจเด็กด้วยการตั้งคำถาม ศึกษารายกรณีเกี่ยวกับตัวเด็ก
          5. จัดกิจกรรมระดมสมอง (Brainstorming) เป็นเทคนิคเพื่อรวบรวมทางเลือกและการแก้ปัญหา โดยให้โอกาสในการคิดอย่างอิสระที่สุดและไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ระหว่างการคิด เพราะการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นการขัดขวางความคิดสร้างสร้างสรรค์
          6. การปลูกฝังความกล้าที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามง่ายๆ เพื่อให้คิดโดยจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น เมื่อฝึกฝนมากเข้าก็จะช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น
          7. การสร้างความคิดใหม่ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งโดยใช้การแจกแจงวิธีการในการแก้ปัญหาหนึ่งมาให้ได้ 10 วิธีการจากนั้นก็แบ่ง 10 วิธีการที่ได้ออกเป็นวิธีการย่อยๆ ลงไปอีก เพื่อให้ได้ทางเลือกหรือคำตอบที่ดีที่สุด
          8. การตรวจสอบความคิด เป็นเทคนิคที่ใช้การค้นหาความคิดหรือแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยการตรวจสอบความคิดของผู้ที่เคยทำไว้แล้วMyelination ช่วยให้การพัฒนาความสามารถของเด็กมีความพร้อม เช่น myelination ในบริเวณของสมองที่มีหน้าที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตากับการใช้มือของเด็ก จะพร้อมก็ต่อเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 ปี พัฒนาการของสมองที่เชื่อมโยงกับโลกกว้าง นำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหลังจากความพร้อมนี้
การเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองและซีนแนปส์ ยิ่งเซลล์ส่งผ่านข้อมูลและเกิดจุดซีนแนปส์มากขึ้นเท่าใด เครือข่ายการเชื่อมต่อของวงจรกระแสประสาทก็ยิ่งประสานกระชับมากขึ้น




👉 กิจกรรม

☺ กิจกรรมที่ 1 ตอบคำถามท้ายบทที่ 9 

คำถามท้ายบทที่ 9
4.ใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะเหตุใด
ตอบ ครูและผู้ดูแลเด็ก เนื่องจากเป็นบุคคลที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กตลอดเวลา การวัดความคิดสร้างสรรค์ควรดูจากเกณฑ์ตามวัยของเด็ก
7.แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์กับการวัดและประเมินผลความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอย่างไร
ตอบ  Portfolio เป็นการประเมินผลวิธีหนึ่งที่เป็นที่สนใจในกระบวนการประเมินผลในปัจจุบัน Portfolio คือการสะสมผลงานของเด็กอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แสดงถึงความพยายามของนักเรียน ความก้าวหน้า ผลสัมฤทธิ์ของเด็กในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้าน การสะสมผลงานนี้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกชิ้นงาน โดยมีบรรทัดฐานหรือเหตุผลของการเลือกผลงานแต่ละชิ้น เกณฑ์ในการประเมินชิ้นงาน การบันทึกผลการสะท้อนผลงานโดยตัวของเด็ก

☺ กิจกรรมที่ 2 มายแมบสื่อธรรมชาติ




☺ กิจกรรมที่ 3 อธิบายลำดับขั้นของพัฒาการทางความคิดสร้างสรรค์

จงอธิบายลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
ไวแกนด์ เสนอความคิดว่ากระบวนการสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องไปทีละขั้นตอนแต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปตามลำดับขั้นและขบวนคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 5 ขั้นดังนี้
1 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา
2 ขั้นการปฏิบัติ
3 ขั้นความติดขั้น
4 ขั้นเกิดความกระจ่าง
5 ขั้นพิสูจน์
ความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวบุคคล สามารถพัฒนาขึ้นมาได้ตามลำดับขั้น โดนเริ่มตั้งแต่ ขั้นรวบรวมประสบการณ์เดิมทีละเล็กทีละน้อย เริ่มมีความรู้เกี่ยวกับโลกจินตนาการ มีความคิดเป็นของตัวเอง ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงขั้นทบทวน ตรวจสอบ มีการพบเจอสิ่งต่างๆรอบตัว เพื่อให้ได้คำตอบ หรือข้อมูลที่เป็นไปตามความจริง หรือเป็นโลกแห่งความเป็นจริง มีเหตุและผลตามมา



☺กิจกรรมที่4 วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวความคิดสร้างสรรค์

จงวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์จากเอกสารบทที่ 2
ตอบ        แนวคิดและทฤษฏีทางความคิดสร้างสรรค์เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การจัดกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้เด็กแสดงออกทางด้านจินตนาการด้านการคิดหลายแง่มุมคิดได้หลาย ทิศทาง มีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสิ่งเร้าใหม่ ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นผลงานที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากของเดิม โดยในทุกๆแนวคิดส่งเสริมการเน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป็นหลักมีการ ลองผิดลองถูกหรือการเรียนรู้เป็นลำดับขั้น จากพฤติกรรมต่างๆของเด็กปฐมวัย
ความคิดสร้างสรรค์และทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา
เน้นการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ความมีเหตุผลและการแก้ไขปัญหา
แนวคิดและทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การสอนให้เด็กเรียนรู้เองคิดเองเด็กและครูจะเกิดการเรียนรู้ จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
แนวคิดและทฤษฎคีวามคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์
เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในจิตใต้สำนึกระหว่างแรงขับทาง เพศ กับความรู้สึกผิดชอบทางสังคม
แนวคิดและทฤษฎคีวามคิดสร้างสรรค์เชิงพฤติกรรมนิยม
เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการ เรียนรู้ โดยเน้นที่ความสำคัญของการเสริมแรงการตอบสนอง
แนวคิดและทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงมนุษย์นิยม
สิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาแต่กำเนิดผู้ที่ สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้คือ ผู้ที่มีสัจจะการแห่งตน
แนวคิดและทฤษฎีโอต้า (AUTA)
เกิดขึ้นในตัวบุคคลโดยมีแนวคิด ว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน
แนวคิดและทฤษฎีโยงความสัมพันธ์
            ถ้าสิ่งเร้าและการตอบสนองแสดงปฏิกิริยาต่อเนื่องกันไปได้มากย่อมจะระลึกได้
แนวคิดและทฤษฎีของวอลลาส
ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากกระบวนการของความคิดสิ่งใหม่ๆ โดยการลองผิดลองถูก
แนวคิดและทฤษฏีของเทเลอร์ (Tayler)
ไม่จำเป็นต้อง คิดค้นประดิษฐ์ของใหม่ๆ
แนวคิดและทฤษฏีของทอแรนซ์ (Torrance)
ตั้งเป็นสมมติฐานทำการทดสอบ สมมติฐาน และเผยแพร่ที่ได้จากการทดสอบสมมติฐานนั้นซึ้งแบ่งออกเป็นขั้นๆ



🌷Assessment🌷
Self-Assessment : ตั้งใจฟังงานที่อาจารย์บอก และรับผิดชอบงาน มีความลำบากในการประสานงานเล็กน้อย
Member Assessment : ตั้งใจทำงาน และมาตรงต่อเวลา
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบาย และสอนได้เข้าใจ




No comments:

Post a Comment